top of page

LiDAR คืออะไร? มีกี่ประเภท? และมีหลักการทำงานอย่างไร?



โดยพื้นฐานนั้น LiDAR (Light Detection and Ranging) จะใช้ระบบ Remote Sensing (การรับรู้ระยะไกล)ในการเก็บข้อมูล หลักการทำงานของ LiDAR คือ การที่เซนเซอร์ทำการยิงแสงเลเซอร์ไปกระทบพื้นผิวของวัตถุที่เราสนใจ พร้อมกับวัดระยะทางระหว่างวัตถุนั้น ๆ แล้วสะท้อนกลับมาที่เซนเซอร์อีกครั้ง นั้นคือ“Return” และทำการบันทึกข้อมูลมาเป็นลักษณะของจุด 3 มิติ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “Point Cloud”




ในปัจจุบัน ประเภทของ LiDAR นั้นมีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. ALS (Airborne Laser Scanning) คือ LiDAR ที่จะติดตั้งอยู่บน UAV ชนิดต่าง ๆ เช่น Multirotor, Fixed-wings หรือไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก และเฮลิคอปเตอร์

  2. TLS (Terrestrial Laser Scanning) หรือ LiDAR ภาคพื้นดิน โดยจะติดตั้งอยู่กับ Tripod ซึ่งตั้งอยู่กับที่ และทำการสแกนพื้นผิวของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ เป็นมุม 360 องศา

  3. MMS (Mobile Mapping System) จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับ TLS คือเป็น LiDAR ภาคพื้นดิน แต่ลักษณะเด่นที่สำคัญคือ สามารถนำไปติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ เพื่อความสะดวกในการเก็บข้อมูล เป็นต้น



Point Cloud คือ กลุ่มของชุดข้อมูลที่มีลักษณะเป็นจุด 3 มิติ โดยในแต่ละจุดนั้นจะมี Attribute ที่สำคัญ นั้นคือข้อมูลเชิงพื้นที่ ระบุเป็นตำแหน่งพิกัด X, Y และ Z ที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างระบบ GPS (Global Positioning System) และระบบ IMU (Inertial Measurement Unit)


จำนวนจุดของ Point Cloud นั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ LiDAR เซนเซอร์ในแต่ละชนิด บางชนิดสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 10,000 จุด จนถึง 1,000,000 จุด ต่อวินาที โดยจำนวนความหนาแน่นของจุดนั้นส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของผลงาน เช่น การสร้าง 3D Mesh จาก Point Cloud ที่มีความหนาแน่นของจำนวนจุดที่มาก ผลลัพธ์ 3D Model ที่ได้ออกมาก็จะมีความเสมือนจริง และถูกต้องแม่นยำในเชิงตำแหน่ง นอกจากนี้ Point Cloud ยังสามารถนำเข้าสู่กระบวนการ Interpolation เพื่อสร้าง Digital Model ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น DSM, DTM และ DHM ได้อย่างมีความถูกต้องแม่นยำตามเกณฑ์ของหลักวิศวกรรม





Kommentare


bottom of page