โดยในการเปรียบเทียบครั้งนี้ จะใช้ LiDAR จากทาง YellowScan จำนวน 2 รุ่นด้วยกัน นั้นคือ Voyager 50 ติดตั้งอยู่บน VTOL fixed wing และ Mapper+ ติดตั้งบน multirotor (M350 RTK)
Voyager 50 / VTOL fixed wing (PIE - U28)
Area coverage 4 sq km
Flight height 400 m ALT (Relative to takeoff point)
Speed 25 m/s
Flight time 30 mimutes
Location บริเวณเขื่อนป่าสัก จังหวัด ลพบุรี
Mapper+ / multirotor (M350 RTK)
Area coverage 1 sq km
Flight height 60 m AGL (Terrain following)
Speed 5 m/s
Flight Time 6 hours
Location เขาทุเรียน จังหวัด นครนายก
จะสังเกตได้ว่าระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระว่าง Voyager 50 / VTOL fixed wing (PIE - U28) และ Mapper+ / multirotor (M350 RTK) นั้นต่างกันมากพอสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของพื้นที่ซึ่งแตกต่างกันค่อนข้างเมาก เนื่องมาจาก Voyager 50 มี FOV (field of view) ที่ 100 องศา ระยะความสูงในการเก็บข้อมูลที่ดีที่สุด สูงสุดไม่เกิน 440 m และ scan rate ที่สูงถึง 2.4 ล้านจุดต่อวินาที แต่ Mapper+ มี FOV (field of view) ที่ 70 องศา ระยะความสูงในการเก็บข้อมูลที่ดีที่สุด สูงสุดไม่เกิน 100 m และ scan rate ที่ 2.4 แสนจุดต่อวินาที ข้อแตกต่างนี้ทำให้ Voyager 50 สามารถนำมาติดตั้งบน VTOL fixed wing ได้ ทำให้ช่วยประหยัดเวลาในการเก็บข้อมูล ครอบคลุมพื้นขนาดใหญ่ ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหน้างานได้มากพอสมควร
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย
Voyager 50 / VTOL fixed wing (PIE - U28)
ข้อดี
- ประหยัดเวลาในการเก็บข้อมูล
- ข้อมูลมีความละเอียดสูง
- ข้อมูลมีความถูกต้องและความแม่นยำสูง
- เก็บรายละเอียดของภูมิประเทศหรือจุดที่สนใจได้อย่างครบถ้วน
ข้อเสีย
- ด้วยน้ำหนักที่มาก ถึง 4.4 kg ทำให้หา UAV มาติดตั้งได้ค่อนข้างยาก และผู้ติดตั้งต้องมีประสบการเกี่ยวกับการ Integration มากพอสมควร
Mapper+ / multirotor (M350 RTK)
ข้อดี
- มีน้ำหนักที่เบา 1.4 kg
- สามาติดตั้งกับ UAV ได้หลายประเภทในท้องตลาด
- ง่ายต่อการนำไปใช้งาน
ข้อเสีย
- ใช้เวลาในการเก็บข้อมูลที่เยอะ
- ครอบคลุมพื้นที่น้อยกว่า
- เมื่อพื้นที่หน้างานมีความต่างระดับที่สูง ทำให้ต้องใช้ Flight plan แบบ AGL (Terrain following) ในการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้จำนวน Point cloud ที่สมบูรณ์แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยง ถ้าข้อมูล DEM นั้นไม่แม่นยำ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างง่ายดาย
Kommentare