ประเภทของภาพถ่ายทางอากาศเพื่องานสำรวจ
ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจระบบ Metric ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจระบบ Interpretive โดยภาพถ่ายเพื่องานสำรวจระบบ Metric ใช้คุณสมบัติพิกัดจากจุดร่วมเพื่อกำหนดวัตถุจากการวัดค่าจากจุดใกล้เคียง ในขณะที่ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจระบบ Interpretive ถ่ายภาพและต่อเติมโครงร่างภูมิประเทศโดยใช้สิ่งที่โดดเด่น เช่น รูปร่าง เงา และโครงร่างจากภาพถ่าย แทนที่จะเป็นจุดร่วม ส่งผลให้ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจระบบ Metric มีความแม่นยำมากกว่า แต่ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจระบบ Interpretive ก็เพียงพอในหลายๆ สถานการณ์ ทั้ง 2 กรณี โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะรวมภาพถ่ายหลายๆ ภาพ เพื่อสร้างเป็นโมเดล 3 มิติ
ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศเพื่องานสำรวจ
ถึงแม้ว่าภาพถ่ายเพื่องานสำรวจอาจมีข้อมูลสำคัญ แต่ก็ใช้สำหรับงานบางประเภทเท่านั้น ส่วนที่มักจะใช้ประโยชน์มักจะเกี่ยวกับข้อมูล GIS ไดแก่
วิศวกรรม: ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจจากโดรนสามารถนำมาใช้เพื่อทำเป็นโมเดล 3 มิติ ของอาคาร และเครื่องมือ
งานก่อสร้าง: การสำรวจโดยอาศัยภาพถ่ายเพื่องานสำรวจ สามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่กำลังก่อสร้างออกมาเพื่อใช้ประโยชน์
งานสำรวจพื้นที่: นักสำรวจในหลายอุสาหกรรมพิ่งพาภาพถ่ายเพื่องานสำรวจ เมื่อผู้ว่าจ้างต้องการจ้ะห็นภาพรวมของโครงร่างภูมิประเทศของพื้นที่
อสังหาริมทรัพย์: นายหน้าใช้โดรนเพื่อทำโมเดล 3 มิติเสมือนจริงของบ้านที่จะขาย โดยแสดงเป็นภาพเสมือนจริง เทคนิคนี้เริ่มคิดที่จะนำมาใช้เนื่องจากการระบาดของ Covid-19
ท้ายที่สุด ภาพถ่ายทางอากาศเพื่องานสำรวจสร้างความได้เปรียบให้แก่นักสำรวจเมื่อเทียบกับการเดินสำรวจ ไม่ว่าจะเป็นอุสาหกรรมประเภทไหน ภาพถ่ายทางอากาศเพื่องานสำรวจให้ข้อมูลที่มากกว่าในเวลาที่น้อยกว่า และยังช่วยให้นักสำรวจไม่จำเป็นต้องเข้าไปยังพื้นที่อันตรายในขณะที่ยังสามารถเก็บข้อมูลที่ต้องการได้ ผลลัพธ์คือประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัท ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยเหตุที่ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจต้องอาศัยภาพถ่ายดิจิทัล จึงทำให้สามารถทำเป็นโมเดล 3 มิติ เสมือนจริงและง่ายต่อการจดจำรวมถึงสะดวกต่อผู้อื่นในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจเปรียบเทียบกับ LiDAR
เราต้องเข้าใจก่อนว่าภาพถ่ายเพื่องานสำรวจแตกต่างจาก LiDAR หรือการวัดระยะด้วยแสง ขณะที่ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจอาศัยความสัมพันธ์ของจุดในการสร้างภาพ 3 มิติเสมือนจริง แต่ LiDAR สร้างโครงร่างภูมิประเทศจากการจับเวลาความเร็วของคลื่นแสงที่ออกไปกระทบพื้นและสะท้อนกลับมาสู่โดรน เทคนิคการสำรวจนี้มีความแม่นยำอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็แลกมาด้วยราคาที่สูง ไม่เพียงแต่อุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีราคาสูง โดรนที่จะบรรทุกอุปกรณ์ขึ้นไปก็ต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย
การเลือกใช้ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจหรือ LiDAR ขึ้นอยู่กับงานแต่ละประเภท LiDAR เหมาะกับพื้นที่งานที่มีแสงไม่สม่ำเสมอซึ่งมีผลต่อภาพถ่าย นักสำรวจที่ทำงานบนพื้นที่ที่มีพืชปกคลุมมักจะเลือก LiDAR เพราะความสามารถในการทะลุทลวงผ่านใบไม้ กิ่งก้าน รวมถึงลำต้นขนาดเล็กได้ หรืออาจใช้ในงานที่วัตถุมีลักษณะเล็กบาง เช่นสายส่งไฟฟ้า อย่างไรก็ตามทั้งสองเทคนิคสามารถใช้ในการทำโมเดล 3 มิติได้อย่างสะดวก
ขนาดพิกเซลในภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายเพื่องานสำรวจ
อัตราส่วนของภาพถ่ายทางอากาศในการนำมาทำเป็นโมเดลภาพถ่ายเพื่องานสำรวจ คุณจำเป็นต้องคำนวณขนาดพิกเซลในภาพถ่าย หรือเรียกสั้นๆ ว่า GSD ซึ่ง GSD หมายถึงความละเอียดจุดภาพ หรืออาจกล่าวได้ว่า ถ้าคำนวณ GSD ได้ 1 เซนติเมตร หมายความว่าทุกพิกเซลบนแผนที่จะห่างกันตามระยะที่คำนวณได้ ทั้งภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายเพื่องานสำรวจต่างก็ต้องการ GSD ที่แม่นยำ สำหรับใช้ในแผนที่ภาพถ่ายเพื่องานสำรวจซึ่งได้มาจากภาพดิจิทัลหลายๆ ภาพรวมกัน
GSD ที่คุณต้องการขึ้นอยู่กับลักษณะของงานสำรวจ งานสำรวจขนาดใหญ่ต้องการ GSD ขนาดใหญ่ นั่นหมายถึงแผนที่โดยรวมจะมีรายละเอียดน้อยลง ขณะที่งานสำรวจพื้นที่เล็กๆ มักจะใช้ GSD ขนาดเล็ก จากพื้นฐานการสำรวจจากมุมสูง นักสำรวจหลายคนจะกำหนดทั้งจุดสนใจบนพื้นที่และ GSD ขั้นต่ำ เพื่อให้ภาพที่นำไปใช้มีการผิดเพี้ยนของ GSD น้อยที่สุด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากความผิดเพี้ยนของภูมิประเทศ การกำหนดทั้งจุดสนใจบนพื้นที่และ GSD ขั้นต่ำทำให้ใช้ภาพจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับภาพถ่ายทางอากาศเพื่องานสำรวจ ในการทำเช่นนี้ทำให้ต้องการความสามารถในการการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นเนื่องด้วยมีข้อมูลที่จะต้องมาประมวลผลมากขึ้น
ในการคำนวณ GSD คุณจำเป็นต้องรู้ข้อมูลจากโดรนของคุณ
ความสูงและความกว้างของเซ็นเซอร์
ความสูงและความกว้างของภาพ
ความยาวโฟกัส
ความสูงในการบิน
ข้อมูลแต่ละค่าหาได้ไม่ยาก ขึ้นอยู่กับยี่ห้อโดรนของคุณ อย่างเช่น GSD จะหาได้จากโปรแกรมคำนวณ Online หรือไม่ก็เป็นการใส่ค่าในสมการ
โดรนช่วยถ่ายภาพเพื่อการสำรวจได้อย่างไร
การใช้โดรนถ่ายภาพเพื่อการสำรวจเป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจภาคพื้นแบบดั้งเดิม นั่นหมายความว่าการลงทุนใช้งานโดรนเพื่อทำแผนที่มีความคุ้มค่าทั้งนักสำรวจและเจ้าของงานด้วย โดรนที่มีความสามารถในการถ่ายภาพเพื่อการสำรวจต้องมีความสามารถในการถ่ายภาพมุมสูงด้วยเหตุที่ภาพถ่ายเป็นจุดเริ่มต้นของเทคนิคนี้
ถ้าคุณต้องการทำแผนที่ด้วยวิธีการที่ทันสมัย ให้มองไปที่ Matrice 300 RTK โดรนลำนี้มีทั้งความสามารถที่เฉลียวฉลาด เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับและรักษาตำแหน่ง 6 ทิศทาง ตลอดจนความสามารถในการติดตั้ง Payload ได้พร้อมกันถึง 3 ตำแหน่ง
นอกจากนั้น การมองหาโดรนที่มีความสามารถอย่างที่เหมาะสมกับงาน นักสำรวจที่ต้องการจะใช้ภาพถ่ายเพื่อการสำรวจก็ต้องการโปรแกรมประมวลผลภาพอย่างเช่น DJI Terra ด้วยเช่นกัน Terra รวมทุกอย่างอยู่ในโปรแกรมเดียว Terra ประมวลผลภาพถ่ายทั้งหมดทำให้งานสำรวจง่ายดายขึ้น ไม่ว่าคุณจะต้องการแผนที่ 2 มิติ หรือ 3 มิติ โปรแกรมนี้สามารถประมวลผลภาพข้อมูลและแสดงเป็นภาพที่มีความแม่นยำ
ขณะที่ภาพถ่ายมุมสูงได้ปฏิวัติการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และการทำแผนที่ คุณยังคงต้องการความสามารถในการถ่ายภาพเพื่อการสำรวจ ซึ่งภาพถ่ายเพื่อการสำรวจเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างโมเดล 2 มิติ และ 3 มิติ ที่มีความแม่นยำพร้อมทั้งค่าพิกัดที่ถูกต้อง ด้วยความเข้าใจเทคนิค โดรน และโปรแกรมประมวลผลจาก DJI ไม่มีงานไหนจะยากเกินความท้าทาย
Comments